วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Electrical Engineering


               วฺิศวกรรมไฟฟ้าคงเป็นวิศวกรรมสาขาที่ใครๆหลายๆคนอยากจะศึกษา ซึ่งได้มีการเริ่มต้นการสอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และ ได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าตามมาเป็นลำดับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก เป็นแห่งแรกของประเทศไทย




เหตุผลที่สนใจสาขาอาชีพด้านนี้

เนื่องจากผมเป็นคนที่สนใจอยากจะศึกษาด้านเทคโนโลยีและด้านวิศวกรรม เพื่อที่จะคิดค้นความคิดใหม่ๆ รวมถึงสาขาอาชีพนี้ยังมีรายได้ที่ดีและมีเป็นสาขาอาชีพที่น่าเคารพ มีคนนับถือ จึงทำให้วิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาอาชีพที่ผมอยากจะทำในอนาคต


เกณฑ์การรับสมัครเข้าสู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

               เปรียบเทียบข้อมูลตามเกณฑ์การรับสมัครเข้าสาขาวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แบ่งช่องทางการรับนักศึกษาออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

  1. โครงการคัดเลือกตรง ประเภทเรียนดี
  2. โครงการคัดเลือกตรง โดยใช้คะแนน GAT/PAT
  3. โครงการคัดเลือกตรง ความสามารถพิเศษและทุนเพชรพระจอมเกล้า
  4. โครงการคัดเลือกตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮ้าส์
  5. Admissions
  6. คัดเลือกผ่านสมาคมนักศึกษาเก่า มจธ.
  7. สิทธิบุตรบุคลากร
  8. มสธ. (สาธิตเสริมสมอง)


โครงสร้างหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 
      หลักสูตร 
           จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                                            149 หน่วยกิต 
           โครงสร้างหลักสูตร 
                 ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                                         31 หน่วยกิต 
                 ข. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                                  112 หน่วยกิต 
                       - กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                                21 หน่วยกิต 
                       - กลุ่มวิชาบังคับพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์                                        14 หน่วยกิต 
                       - กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรมไฟฟ้า (รวมวิชาฝึกงาน)                          62 หน่วยกิต 
                       - กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรมไฟฟ้า                                                      12 หน่วยกิต 
                       - กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรมศาสตร์                                                     3 หน่วยกิต 
                 ค. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                              6 หน่วยกิต


สาขาย่อยต่างๆของวิศวกรรมไฟฟ้า

  1. ไฟฟ้ากำลัง
  2. สื่อสาร/โทรคมนาคม
  3. อิเล็กทรอนิกส์
  4. ระบบควบคุม
  5. สาขาอื่นๆ เช่น เครื่องมือวัด, การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล, ออปติค


ลักษณะของงานที่ทำ

1. ปรับแต่งควบคุมและตรวจเช็คเครื่องควบคุมไฟฟ้ากระแสสลับ เช่น ชุดควบคุมมอเตอร์ 
2. เดินสายไฟฟ้าระบบจ่ายพลังงาน และควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน 
3. ตรวจเช็ค ซ่อมแซม และติดตั้งเครื่องจักร ทางไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า 
4. ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องมือวัดกระแส เครื่องมือวัดแรงดัน
5.ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย 


คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

- สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ทำงานในระดับช่างฝีมือ หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทำงานในระดับช่างเทคนิค 
- มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่องานอาชีพ 
- มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร สามารถทำงานกลางแจ้ง 
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบการคิดคำนวณ มีความละเอียดรอบคอบ 
- มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
- มีความมั่นใจในตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้


สภาพการจ้างงาน

               ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนที่แตกต่างกันไปตามความรู้ความชำนาญและสถานประกอบกิจการในอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ ดังนี้ 
เงินเดือน 
วุฒิการศึกษา ราชการ เอกชน 
วุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน 4,000 - 4,500 6,000 
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 5,260 6,000 - 6,500 
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 6,490 6,500 - 7,500 


โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

                ผู้ที่รับราชการหรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจะเลื่อนขั้นเงินเดือนและตำแหน่งตามกฎระเบียบที่วางไว้ ส่วนงานเอกชนนั้นเมื่อระยะเวลาการทำงานเพิ่มขึ้นรวมทั้งมีความสามารถและชำนาญงานก็จะได้เลื่อนตำแหน่งงานและเงินเดือนสูงขึ้นตามความสามารถ และประสบการณ์ นอกจากนี้ยังสามารถหารายได้พิเศษโดยรับติดตั้งระบบไฟฟ้าอาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงานหรือโรงงานอุตสาหกรรม 
มีพื้นฐานอาชีพนี้สามารถฝึกเพิ่มเติมฝีมือในหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือใน สพร. อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมาก เนื่องจากกระบวนการทำงาน และ กระบวนการผลิตจะเปลี่ยนไปในทางการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งต้องใช้การควบคุมที่แน่นอนและแม่นยำจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปช่วยในการควบคุม 

ผู้ประกอบอาชีพนี้หากต้องการความก้าวหน้าในวิชาชีพจะสามารถศึกษาต่อเพื่อเพิ่มวิทยฐานะในอาชีพในตำแหน่งที่สูงขึ้น 


อาชีพที่เกี่ยวข้อง

               พนักงานขาย ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมไฟฟ้า ช่างเครื่องกล ช่างซ่อมวิทยุ ช่างซ่อมโทรทัศน์ หัวหน้าควบคุมการทำงาน พนักงานควบคุมการทำงานเครื่องจักร ช่างเทคนิค ช่างซ่อมเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม







หากผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ตาม link นี้นะครับ  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น